วันนี้ (16 พ.ค.60) ที่ บริษัท ศรีราชาฟาร์ม (เอเชีย) จำกัด อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมคณะทำงาน ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม โครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในภูมิภาค ตามนโยบาย One Province One Agro-Industrial Product หรือ OPOAI (โอปอย) ภายใต้การกำกับการดูแลของกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นโครงการที่เกิดจากความพยายามของภาครัฐที่ได้น้อมนำปรัชญาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 มาปรับใช้และนโยบายรัฐบาลในการส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตทางการเกษตรของประเทศ โดยดึงศักยภาพของวัตถุดิบในพื้นที่มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับประชาชนในท้องถิ่นและสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในเรื่องการ ก้าวสู่ประเทศไทย 4.0

นายสมชาย กล่าวเพิ่มเติมว่า ประโยชน์ที่ทางสถานประกอบการได้รับโดยตรงที่เห็นเด่นชัดมากที่สุดคือ ได้รับรู้ถึงข้อบกพร่องของสถานประกอบการเอง ว่ามีข้อบกพร่องอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการผลิต การบริหารงาน และอื่นๆ ที่บางครั้งสถานประกอบการเองอาจขะมองไม่เห็นข้อบกพร่องนั้นๆ นอกจากนี้ยังได้รับการพัฒนาแลัแก้ไขจุดบกพร่องนั้นเป็นการเฉพาะจุดจริงๆ
สำหรับในปีงบประมาณ 2560 มีสถานประกอบการ SMEs อุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร ที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 200 ล้านบาท ในพื้นที่ 76 จังหวัดทั่วประเทศเข้าน่วมโครงการจำนวน 171 ราย จำนวนแผนงาน 260 แผนงาน ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างตรวจติดตามการดำเนินโครงการ
นายสุชาติ ปัญญาสาคร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศรีราชาฟาร์ม (เอเชีย) จำกัด กล่าวว่า บริษัทได่ดำเนินธุรกิจผลิตภัณฑ์เครื่องหนังจากจระเข้ครบวงจร บนพื้นที่ของฟาร์มและโรงงานรวมประมาณ 250 ไร่ ได้แก่ 1.เลี้ยงดูจระเข้ 2.ผลิตผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์สดและแช่แข็ง บแห้ง และแปรรูป 3.โรงฟอกหนังและตัดเย็บผลิตภัณฑ์เครื่องหนังจากจระเข้ โดยมีการจำหน่ายปลีกหน้าฟาร์มภายใต้แบรนด์ SC และ Crocco รวมทั้งรับจ้างผลิตตามแบบที่ลูกค้าต้องการ โดยบริษัทเข้าร่วมโครงการโอ-ปอย ใน 2 แผนงาน แระกอบด้วย แผนงานด้ายการปรับปรุงคุณภาพและพัฒนางาน แผนงานด้านกลยุทธ์ขับเคลื่อนการตลาด
แผนงานด้านการปรับปรุงคุณภาพและพัฒนาผลงาน จากประเด็นปัญหาขาดการวิเคราะห์ข้อมูลของเสียระหว่างกระบวนการและสินค้าสำเร็จรูป รวมถึงต้องใช้แรงงานฝีมือ มีทักษะและความปราณีตสูงในการตัดเย็บ เนื่องจากหนังจระเข้มีมูลค่าสูง ดังนั้นจึงได้ทำการอบรมและระดมสมองพนักงานเพื่อแจกแจงปัญหา โดยใช้เครื่องมือคุณภาพ วิเคระห์สาเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องและหาแนวทางพัฒนางานตัดเย็บเพื่อลดของเสีย ผลจากการปรับปรุงคุณภาพและพัฒนางานดังกล่าว ทำให้โรงงานมีมาตรฐานการทำงานของพนักงานตัดเย็บ ปริมาณของเสียมีแนวโน้มลดลง
ด้านกลยุทธ์ขับเคลื่อนการตลาด จากการวิเคราห์ทางการตลาดโดยใช้ SWOT พบว่า บริษัทฯ ควรดำเนินการผลักดันแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ เพื่อเพิ่มยอดขายและศักยภาพของธุรกิจในอนาคต ด้วยจุดแข็งของโรงงานที่เป็นผู้ผลิตอย่างครบวงจร จึงได้ดำเนินการขับเคลื่อนตลาดโดยใช้กลยุทธ์ทั้งด้านผลิตภัณฑ์ โปรโมชั่น และสถานที่จัดจำหน่าย มีการปรับปรุงรูปโฉมร้านจำหน่ายหน้าโรงงาน (Showroom) อบรมพนักงานขายให้มีความเป็นมืออาชีพในการนำเสนอสินค้าและสร้างภาพลักษณ์ที่ดี จัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ซึ่งได้รับความสนใจจากลูกค้าเป็นอย่างมาก ปัจจุบันบริษัทฯ มีแผนขยายร้านค้าไปยังสถานที่ต่างๆ ซึ่งจะใช้ต้นแบบจากร้ายค้าที่ปรับปรุงใหม่ โดยเริ่มที่จังหวัดเชียงใหม่ ในห้างสรรพสินค้าเมญ่า ไลฟ์สไตล์ช้อปปิ้งเซ็นเตอร์ คาดว่าจะสามารถรองรับกำลังซื้อของลูกค้าทั้งในและต่างประเทศได้มากขึ้น