สวัสดีครับ...พบกับ www.ศรีราชาโพสต์.com โฉมใหม่!! "สร้างสรรค์ ดูแลกัน ทันเหตุการณ์" ***สวัสดีครับ...พบกับ www.ศรีราชาโพสต์.com โฉมใหม่!! "สร้างสรรคฺ์ ดูแลกัน ทันเหตุการณ์" ***ประชาสัมพันธ์ข่าวสารส่งมาได้ที่ kk.udomsuk@gmail.com

ผู้ว่าฯชลบุรี เร่งแก้ไขปัญหาขยะ ที่เริ่มทวีความรุนแรง หลังปริมาณขยะเฉลี่ยวันละเกือบ 3,000 ตัน โดยในอนาคตไม่มีพื้นที่รองรับขยะได้เพียงพอ พร้อมเตรียมเสนอรัฐบาล จัดตั้งเป็นโรงไฟฟ้าขยะ เพื่อแก้ไขอย่างยั่งยืน


วันนี้ (28 มีนาคม  2560 ) นายภัครธรณ์ เทียนไชย ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เป็นประธานการประชุมการแก้ไขปัญหาขยะพื้นที่จังหวัดชลบุรี ในเขตอำเภอศรีราชา ซึ่งประกอบด้วย เทศบาลนครแหลมฉบัง, เทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์, เทศบาลเมืองศรีราชา, เทศบาลตำบลบางพระ, องค์การบริหารส่วนตำบลหนองขาม, องค์การบริหารส่วนตำบลเขาคันทรง และองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อวิน ณ ห้องประชุมชั้น 4 เทศบาลนครแหลมฉบัง โดยมีคณะผู้บริหารในแต่ละพื้นที่ เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง 

นายภัครธรณ์ กล่าวว่า ปัจจุบันขยะในพื้นที่จังหวัดชลบุรี เฉลี่ยวันละเกือบ 3,000 ตัน ดังนั้นจังหวัดจึงได้กำหนดแบ่งพื้นที่ในการบริหารจัดการเป็น 4 กลุ่ม และ 1 อำเภอเกาะสีชัง โดยกลุ่มที่ 1 อำเภอศรีราชา เป็นผู้รับผิดชอบ, กลุ่ม 2 เมืองพัทยา, กลุ่ม 3 อำเภอเมืองชลบุรี, กลุ่ม 4  เทศบาลบ้านบึง และ เทศบาลตำบลเกาะสีชัง โดยเฉลี่ยแล้วในแต่ละกลุ่มมีปริมาณขยะวันละกว่า 500 ตัน ซึ่งปริมาณขยะดังกล่าวสามารถแปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ ซึ่งเป็นแนวทางในการกำจัดขยะ และได้พลังงานไฟฟ้ากลับมาใช้ประโยชน์ได้ 

สำหรับการจัดตั้งโรงไฟฟ้าจากขยะนั้น ต้องมีองค์ประกอบหลายอย่างที่มาเกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความเหมาะสม เช่น ผังเมือง, สายส่งไฟฟ้า ซึ่งในการประชุมในแต่ละกลุ่มก็มีปัญหาอุปสรรคในบางประการและขณะนี้อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูล เพื่อนำเสนอรัฐบาลโดยกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รับผิดชอบนำไปพิจารณาช่วยเหลือต่อไป เพื่อต้องการให้การแก้ไขปัญหาขยะพื้นที่จังหวัดชลบุรีเป็นไปอย่างยั่งยืน 

“ในอนาคต ทั้ง 4 กลุ่มพื้นที่รับผิดชอบ ควรมีโรงไฟฟ้า เพราะปริมาณขยะในขณะนี้มีเพียงพอในการป้อนเข้าสู่โรงไฟฟ้า ซึ่งในอนาคตความเจริญเติบโตในพื้นที่จังหวัดชลบุรีเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอนและปริมาณขยะต้องเพิ่มขึ้นด้วย โดยหากมีโรงไฟฟ้าเกิดขึ้นแล้วก็สามารถรองรับได้ทันท่วงที “นายภัครธรณ์  กล่าว 

นายภัครธรณ์ กล่าวต่อไปอีกว่า ที่ผ่านมาการจัดตั้งโรงไฟฟ้าขยะโดยภาคเอกชนนั้น เป็นไปด้วยความยากลำบาก แต่ขณะนี้กฎหมายได้เปิดโอกาสให้ภาคเอกชน เข้ามาดำเนินการจัดตั้งโรงไฟฟ้าได้แล้ว  ซึ่งจะเกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย เช่น ท้องถิ่นสามารถกำจัดขยะได้ ส่วนภาคเอกชนเข้ามาบริหารจัดการและสามารถอยู่รอดได้และขยะก็ได้รับการแก้ไข ดังนั้นจึงต้องการให้เอกชนมาร่วมกันแก้ไขปัญหาให้หมดไป เนื่องจากมีความรู้ความสามารถกว่าส่วนราชการ ขณะนี้พื้นที่ฝังกลบ เริ่มมีไม่เพียงพอต่อการรองรับขยะที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอน ดังนั้นต้องมีวิธีกำจัดขยะที่เปลี่ยนไปจากเดิม โดยการเปลี่ยนขยะเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งจะได้ประโยชน์ คือ พลังงานไฟฟ้าและขยะก็ถูกทำลาย ดังนั้นการแก้ไขปัญหารูปแบบดังกล่าวจะเป็นการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพในอนาคต 

สำหรับการแก้ไขปัญหาขยะในแต่ละกลุ่มพื้นที่นั้น บางพื้นที่มีปัญหาอุปสรรค ซึ่งบางครั้งจังหวัดไม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ เนื่องจากเกินอำนาจหน้าที่ในความรับผิดชอบ ดังนั้นจะต้องเสนอปัญหาต่อรัฐบาล เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างยั่งยืนต่อไป




paitoon Banner2 ท่าเรือLCB ไทยออยล์ ปตท. แปซิฟิค