พลตำรวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการ ป.ป.ช.
เป็นประธานเปิดงานสัมมนาระดับภูมิภาค “มาตรการที่มีประสิทธิภาพสำหรับภาคธุรกิจเอกชนในการต่อต้านการให้สินบน”
ณ ห้องสยามแกรนด์บอลรูม โรงแรมเมอเวนพิค สยามโฮเทล เมืองพัทยา
จังหวัดชลบุรี โดยมีนายภัครธรณ์ เทียนไชย ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ให้การตอนรับ
สำนักงานคณะกรราการป้องกันแลปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
ร่วมกับสำนักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) หน่วยงาน American Bar Association
(ABA) และสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) เป็นเจ้าภาพจัดงานสัมมนาระดับภูมิภาค ในหัวข้อ “มาตรการที่มีประสิทธิภาพสำหรับภาคธุรกิจเอกชนในการต่อต้านการให้สินบน”
(Regional Seminar on Effective Measures for the Private Sector to Prevent Bribery)
ระหว่างวันที่ 2 – 3 สิงหาคม 2561 ณ โรงแรม Movenpick Siam Hotel เมืองพัทยา
จังหวัดชลบุรี
สำหรับการสัมมนาครั้งนี้
มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสร้างความรู้ความเข้ใจให้กับนิติบุคคล
โดยเฉพาะภาคธุรกิจเอกชน เกี่ยวกับกฎหมายและมาตรการป้องกันสินบนที่มีประสิทธิภาพ
และเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับกฎหมายและมาตรการป้องกันสินบนระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
โดยได้รับเกียรติวิทยากรจากผู้มีความเชี่ยวชาญจากทั้งไทยและต่างประเทศ เช่น
สำนักงาน UNODC องค์การ OECD สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ เกาหลี
และฮ่องกง ทั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมงานสัมมนา
ประกอบด้วยผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานจากภาครัฐและเอกชน ได้แก่
สำนักงานพาณิชยังหวัด สำนักงานคณะกรรากรส่งเสริมการลงทุน (BOI) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) บริษัทในภูมิภาคตะวันออก หอการค้าจังหวัด สภาสมาคมที่เกี่ยวข้อง
และผู้แทนจากประเทศอาเซียน รวมทั้งสิ้น 150 คน
นอกจากนี้ ภายในงานได้รับเกียรติจาก นายกลินท์ สารสิน
ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย นายรพี สุจริตกุล เลขาธิการ
ก.ล.ต. ดร.บัณฑิต นิจถาวร กรรมการผู้อำนวยการ IOD ร่วมอภิปรายเกี่ยวกับมุมมองและประสบการณ์ในการต่อต้านการทุจริตให้สินบนของภาคเอกชน
ซึ่งเป็นการปลุกกระแสของการประกอบธุรกิจอย่างโปร่งใสมีธรรมาภิบาล
และสอดคล้องกับแนวทางของ ป.ป.ช. รวมทั้งมาตรฐานสากลอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม สำนักงาน ป.ป.ช. คาดว่าผลการจากการสัมมนาครั้งนี้
จะช่วยกระตุ้นการธุรกิจเอกชน ทั้งในพื้นที่ EEC และภูมิภาคอาเซียนให้ตระหนักถึงความสำคัญของการมีมาตรการหรือระบบภายในองค์กรเพื่อป้องกันการให้สินบนทีมีประสิทธิภาพ
ซึ่งช่วยส่งเสริมบรรยากาศการค้าการลงทุนที่โปร่งใสของภูมิภาคนี้ อีกทั้ง
ยังเป็นแนวทางให้ภาครัฐพัฒนาปรับปรุงกฎหมายและการทำงานให้ดียิ่งขึ้น
และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหากรให้สนบนเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป