สวัสดีครับ...พบกับ www.ศรีราชาโพสต์.com โฉมใหม่!! "สร้างสรรค์ ดูแลกัน ทันเหตุการณ์" ***สวัสดีครับ...พบกับ www.ศรีราชาโพสต์.com โฉมใหม่!! "สร้างสรรคฺ์ ดูแลกัน ทันเหตุการณ์" ***ประชาสัมพันธ์ข่าวสารส่งมาได้ที่ kk.udomsuk@gmail.com

สถานการณ์ไก่สดแปรรูป ส่งออกไปตลาดต่างประเทศยุโรป-ญี่ปุ่น เติบโตอย่างต่อเนื่อง หลังประเทศบราซิลและฟิลิปปินส์ ประสบปัญหาด้านมาตรฐานการส่งออกและไข้หวัดนก


สถานการณ์ไก่สดแปรรูป ส่งออกไปตลาดต่างประเทศยุโรป-ญี่ปุ่น เติบโตอย่างต่อเนื่อง หลังประเทศบราซิลและฟิลิปปินส์ ประสบปัญหาด้านมาตรฐานการส่งออกและไข้หวัดนก โดยหันมาสั่งซื้อไก่จากประเทศไทยแทน ทำให้ตลาดการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศโตขึ้น 8-9 %
นางฉวีวรรณ คำพา นายกสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวถึง สถานการณ์ส่งออกไก่สดไปยังตลาดต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะเนื้อไก่สดแปรรูปแช่แข็ง ขณะนี้มีความต้องการสูงมากกว่าประเทศอื่นๆ ส่วนไก่ปรุงสุกก็ยังมีความต้องการเช่นกัน แต่สู้ไก่สดแปรรูปแช่แข็งไม่ได้ นอกจากนั้นประเทศในแถบยุโรปก็ยังมีออเดอร์ซื้อบ้าง
ขณะนี้การส่งออกไก่สดแปรรูปแช่แข็งไปยังตลาดต่างประเทศนั้น ราคาค่อนข้างสูง เนื่องจากความต้องการ เพราะในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ประเทศบราซิล มีปัญหาด้านมาตรฐานการส่งออก ซึ่งเดิมประเทศญี่ปุ่นสั่งซื้อจากประเทศบราซิล แต่เมื่อเกิดปัญหาดังกล่าว จึงหันมาซื้อจากประเทศไทยแทน
นางฉวีวรรณ กล่าวต่อไปว่า นอกจากปัญหาที่ประเทศบราซิลแล้ว และเมื่อเร็วๆนี้ได้เกิดปัญหาพบเชื้อไข้หวัดนกที่ประเทศฟิลิปปินส์ เช่นกัน ทำให้ความต้องการไก่สดเพิ่มมากขึ้นด้วย ดังนั้นจึงหันมาสั่งซื้อไก่สดจากประเทศไทย ที่สำคัญประเทศไทยสามารถส่งไปถึงประเทศญี่ปุ่นภายใน 7 วันเท่านั้น แต่ถ้าหากสั่งซื้อจากประเทศบราซิล ต้องใช้เวลานับเดือน
ขณะนี้การส่งออกไก่สดไปยังประเทศญี่ปุ่น เดิมส่งไปประมาณ 7 แสนตัน คาดว่าในปีนี้สามารถส่งมากกว่า 7 .5 - 8 แสนตัน โดยยอดส่งออกเพิ่มขึ้นประมาณ 8-9 % จากปี 2559 ส่วนราคาขายในขณะนี้ ไก่สดแปรรูปแช่แข็งธรรมดา ราคาตันละ 3,200 ดอลลาร์สหรัฐ แต่หากไก่สดแช่แข็งคัดพิเศษ ราคาตันละกว่า 4,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งในช่วงนี้ประเทศแถบยุโรป และ ประเทศญี่ปุ่น เพิ่มมากขึ้น เพราะจะต้องสำรองไก่สดไว้รองรับในช่วงเทศกาลคริสต์มาสและเทศกาลปีใหม่ ที่จะถึงในเร็วๆนี้
นางฉวีวรรณ กล่าวถึง สถานการณ์ไข้หวัดนกในประเทศไทยนั้น โดยประเทศไทยเคยมีประสบการณ์ด้านนี้ ทำให้หน่วยงานภาครัฐ คือ กรมปศุสัตว์ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้วางมาตรการที่เข้มงวด เช่น โรงเรือนเลี้ยงดูต้องปลอดเชื้อโรค, ขั้นตอนการเข้า-ออกโรงเรือนต้องผ่านการฆ่าเชื้อ และโรงเรือนต้องพักนานกว่า 30 วัน ถึงจะสามารถเลี้ยงในรุ่นอื่นต่อไปได้
สำหรับในช่วงนี้ประเทศไทยมีสภาพอากาศแปรปรวน ซึ่งเรื่องนี้เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ทราบดี เพราะปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นทุกๆปี เช่น ไข้หวัด, ระบบขับถ่าย ดังนั้นเกษตรกรจะต้องเฝ้าระวังในช่วงนี้เป็นพิเศษ ดังนั้นการจะเลี้ยงไก่ในแต่ละครั้งจะต้องดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะหากเกิดขึ้นแล้วจะต้องถูกกำจัด ซึ่งจะสร้างความเสียหายอย่างมหาศาล



paitoon Banner2 ท่าเรือLCB ไทยออยล์ ปตท. แปซิฟิค