สวัสดีครับ...พบกับ www.ศรีราชาโพสต์.com โฉมใหม่!! "สร้างสรรค์ ดูแลกัน ทันเหตุการณ์" ***สวัสดีครับ...พบกับ www.ศรีราชาโพสต์.com โฉมใหม่!! "สร้างสรรคฺ์ ดูแลกัน ทันเหตุการณ์" ***ประชาสัมพันธ์ข่าวสารส่งมาได้ที่ kk.udomsuk@gmail.com

ท่าเรือแหลมฉบังจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพิจารณาร่างข้อเสนอเชิงนโยบายร่วมกับ World Bank เพื่อเป็นการทบทวนรูปแบบการบริหารจัดกา

 

ท่าเรือแหลมฉบังจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพิจารณาร่างข้อเสนอเชิงนโยบายร่วมกับ World Bank เพื่อเป็นการทบทวนรูปแบบการบริหารจัดการ สรุปเป็นแนวทางในการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังในอนาคต รวมถึงการดูแลชุมชนรอบท่าเรือฯ ที่ต้องนำมาเชื่อมโยงเพื่อให้อยู่ด้วยกันได้อย่างมีความสุข

วันนี้ (10 มี.ค.) ศาสตราจารย์ ดร.รุธิร์ พนมยงค์ กรรมการท่าเรือแห่งประเทศไทย เป็นประธานการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพิจารณาร่างข้อเสนอเชิงนโยบายร่วมกับ World Bank พร้อมด้วย เรือโทยุทธนา โมกขาว ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง กรรมการการท่าเรือฯ ผู้บริหารการท่าเรือฯ ผู้แทน World Bank ผู้แทนผู้ประกอบการ และพนักงานการท่าเรือฯ เข้าร่วม ณ ห้อง SRIRACHA GRAND BALLROOM โรงแรม OAKWOOD HOTEL & RESIDENCE SRIRACHA

ศาสตราจารย์ ดร.รุธิร์ พนมยงค์ กรรมการท่าเรือแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพิจารณาร่างข้อเสนอเชิงนโยบายร่วมกับWorld Bank ในวันนี้ โดยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้านการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ที่ให้การสนับสนุนการท่าเรือฯ และได้จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย และมาร่วมนำเสนอ ให้การท่าเรือฯ เพื่อใช้ทบทวนแผนแม่บทการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งแผนแม่บทการพัฒนาของท่าเรือแหลมฉบัง ดังกล่าวได้จัดทำไว้ตั้งแต่ปี 2549 ซึ่งนานกว่า 30 ปีแล้ว  ดังนั้นวันนี้ คณะกรรมการฯ ผู้บริหาร การท่าเรือฯ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จะได้ร่วมกันทบทวนแผนแม่บทการพัฒนา ท่าเรือแหลมฉบัง และระดมความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะต่อแนวทางในการปรับปรุงการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อเป็นกรอบนโยบายในการพัฒนาพื้นที่ และเกิดการใช้ประโยชน์สูงสุด

เพื่อให้สอดรับกับ นโยบายและยุทธศาสตร์ของประเทศ รองรับการเติบโต และการแข่งขันของธุรกิจการขนส่งทางน้ำและโลจิสติกส์ สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในทุกๆด้าน ความสำเร็จของการจัดทำแผนพัฒนาพื้นที่ จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาการท่าเรือฯ ให้เป็นองค์กรที่มีมาตรฐานในระดับชั้นนำของโลก พร้อมทั้งผลักดันและขับเคลื่อนระบบ โลจิสติกส์ของประเทศให้มีประสิทธิภาพ เกิดการบูรณาการร่วมกัน การสร้างมูลค่าเพิ่มจาก สินทรัพย์ของการท่าเรือฯ ในเชิงพาณิชย์ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร ชุมชน สังคม และ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

การสัมนาครั้งนี้ เป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่สิ่งสำคัญ การท่าเรือแห่งประเทศไทย การท่าเรือแหลมฉบัง ทุกภาคส่วนต้องมีความเป็นเจ้าของ หากไม่มีสิ่งนี้แล้ว ก็เป็นเพียงทำเอกสาร ,พาวเวอร์พอย เท่านั้น ซึ่งไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร  หลังจากจบการประชุมเชิงปฎิบัติการ วันนี้จะนำรายละเอียดจากทุกภาคส่วนที่มีการพูดคุยกัน จัดทำเป็นเอกสาร เพื่อสรุปในมุมมองของทุกคนให้บอร์ดการท่าเรือแห่งประเทศไทยรับรอง 

ศาสตราจารย์ ดร.รุธิร์ กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันท่าเรือแหลมฉบัง ก็มีศักยภาพ แต่จะต้องย้อนกลับมาดูว่า บางครั้งการเติบโตยังเป็นส่วนๆ โดยไม่ได้มองภาพใหญ่ ผ่านมา 30 กว่าปีแล้ว  ถึงเวลาแล้วที่ต้องการรื้อใหม่ จัดทำรูปแบบใหม่ แต่จะรื้อมาหรือน้อยก็ต้องดูผลของการสัมมนาวันนี้  นอกจากนี้ในเรื่องของชุมชนก็เป็นสิ่งสำคัญ ที่ต้องนำมาเชื่อมโยงกับท่าเรือให้ได้ โดยทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องไปด้วยกันได้ แต่ขณะนี้ขอจัดการในส่วนของท่าเรือ ก่อนและค่อยมาคุยกับชุมชนหรือผู้นำท้องถิ่น ว่าจะไปในรูปแบบไหนที่จะได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

ด้านเรือโทยุทธนา โมกขาว ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง กล่าวว่า ท่าเรือแหลมฉบัง ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับ
World Bankเพื่อเป็นการทบทวนรูปแบบการบริหารจัดการท่าเรือแหลมฉบังในด้านต่างๆ ที่ผ่านมา จึงได้จัดสัมมนาดังกล่าวขึ้น เนื่องจากโลกมีความก้าวหน้าและเปลี่ยนแปลงไปไกล เช่น ระบบโลจิสติกส์ วันนี้จึงเป็นโอกาสได้มาทบทวน จึงเชิญผู้ประกอบการท่าเทียบเรือในท่าเรือแหลมฉบัง,ผู้เช่าพื้นที่ในเขตท่าเรือแหลมฉบัง, เจ้าหน้าที่ท่าเรือแหลมฉบัง และWorld Bankมาให้ข้อมูล เพื่อนำข้อมูลนี้มาสรุปเป็นแนวทางในการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังต่อไปในอนาคต

“โลกมีการเปลี่ยนแปลงที่เร็วมาก ซึ่งในความเป็นจริง ในเรื่องการขนส่งสินค้าเปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว ดังนั้นการจัดสัมมนาดังกล่าวเพื่อนำประสบการณ์จากทั่วโลก มาบอกเล่ากับท่าเรือแหลมฉบัง ว่าควรจะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง เช่น เทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืนของธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะประเทศที่มีการพัฒนาแล้ว มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบพลังงานไปพอสมควร ซึ่งเรื่องนี้ท่าเรือแหลมฉบังจะต้องเริ่มพัฒนา ให้ก้าวหน้าไปสู่การเป็นท่าเรือสีเขียว
ในอนาคต และที่สำคัญโลกในอนาคตหากธุรกิจใดไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จะทำธุรกิจได้ยาก”เรือโทยุทธนา กล่าว









paitoon Banner2 ท่าเรือLCB ไทยออยล์ ปตท. แปซิฟิค