พลเอก ธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ นาย
กลิน ที เดวีส์ (H.E. Mr. Glyn T.
Davies) เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจาประเทศไทย
ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกคอบร้าโกลด์ ๑๘ ณ กองการบินทหารเรือ
สนามบินนานาชาติอู่ตะเภา อาเภอบ้านฉางจังหวัดระยอง โดยมี
เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจาประเทศไทย เอกอัครราชทูตเกาหลีใต้ประจาประเทศไทย
ผู้แทนเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจาประเทศไทย
เอกอัครราชทูตมาเลเซียประจาประเทศไทย และอัครราชทูต
ที่ปรึกษาสิงคโปร์ประจาประเทศไทย เข้าร่วมด้วย
สำหรับการฝึกคอบร้าโกลด์
เป็นการฝึกร่วมผสมทางทหารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ซึ่งกองทัพไทย และกองกาลังสหรัฐอเมริกาภาคพื้นแปซิฟิก
ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดการฝึกในประเทศไทยเป็นประจาทุกปี ในครั้งนี้นับเป็นครั้งที่
๓๗ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความร่วมมือด้านความมั่นคงในการแก้ไขสถานการณ์ความขัดแย้ง
มุ่งไปสู่การเป็นกองกาลังรักษาสันติภาพนานาชาติ
รวมทั้งเตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือ ด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ
นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางทหาร ระหว่างกองทัพไทยกับกองทัพมิตรประเทศที่เข้าร่วมการฝึกคอบร้าโกลด์
๑๘ ที่ดีอยู่แล้วให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
และในปีนี้การฝึกคอบร้าโกลด์ มีประเทศเข้าร่วมการฝึกหลัก จำนวน
๗ ประเทศ ได้แก่ ไทย สหรัฐ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี อินโดนีเซีย มาเลเซีย
และสิงคโปร์ โดยมีประเทศจีน และอินเดีย เข้าร่วมในส่วนโครงการช่วยเหลือประชาชน
นอกจากนี้ยังมีประเทศในโครงการฝ่ายเสนาธิการผสมส่วนเพิ่มนานาชาติ (Multinational Planning Augmentation Team : MPAT)จำนวน ๑๐ ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา ฝรั่งเศส อังกฤษ บังคลาเทศ
เนปาล มองโกเลีย ฟิจิ นิวซีแลนด์ และฟิลิปปินส์ สาหรับประเทศที่เข้าร่วมสังเกตการณ์การฝึก
(Combined Observer Liaison Team : COLT) จำนวน ๙ ประเทศ
ได้แก่ บรูไน กัมพูชา ลาว เวียดนาม ศรีลังกา บราซิล ปากีสถาน เยอรมนี และอิสราเอล
รวมทั้งสิ้น ๒๘ ประเทศ จำนวนผู้เข้ารับการฝึกรวม ๑๑,๐๗๕ นาย
โดยใช้พื้นที่กองทัพภาคที่ ๑ กองทัพภาคที่ ๒ และบริเวณอ่าวไทยตอนบน
เป็นพื้นที่การฝึกหลัก ในระหว่างวันที่ ๑๓-๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ ประกอบด้วย
การฝึกปัญหาที่บังคับการ (Command Post Exercise : CPX) การฝึกภาคสนาม
(Field Training Exercise : FTX) และโครงการช่วยเหลือประชาชน
(Humanitarian Civic Assistance: HCA) โดยในปีนี้ได้เพิ่มการฝึกช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาสาธารณภัย
(Humanitarian Assistance/Disaster Relief: HA/DR) การฝึกต่อต้านการก่อการร้ายสากล
(Counter Terrorism: CT) และการฝึกกวาดล้างและทาลายทุ่นระเบิด
(Land Mine Destruction: LMD)
สำหรับประโยชน์ที่จะได้รับจากการฝึกคอบร้าโกลด์
แบ่งเป็นสามระดับ ประกอบด้วย ระดับประเทศ
เป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในระดับนานาชาติในการเตรียมความพร้อมด้านการทหารที่มีความเข้มแข็ง
ทันสมัย สามารถตอบสนองภารกิจด้านความมั่นคงในทุกมิติ เช่น การรักษาสันติภาพ การบรรเทาสาธารณภัยต่าง
ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น ส่วนในระดับกองทัพ
เป็นการพัฒนาขีดความสามารถทางทหารในการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างกองทัพไทยกับกองทัพมิตรประเทศ
เพื่อเป็นหลักประกันความพร้อมในการปฏิบัติภารกิจของกองทัพไทยในทุกมิติ
ทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยเฉพาะด้านการบรรเทาสาธารณภัยในภูมิภาค
เพื่อสร้างเสถียรภาพให้แก่ภูมิภาคอย่างยั่งยืน และในระดับพื้นที่ที่เข้าทาการฝึกฯ
ได้รับประโยชน์จากการฝึกในส่วนโครงการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ
เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์ของโครงการช่วยเหลือประชาชน
นอกจากนั้นยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวและ สร้างรายได้ให้กับท้องถิ่น
รวมทั้งเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยในสายตาของกาลังพลมิตรประเทศ
ที่เข้าร่วมการฝึกอีกด้วย