แพทย์หญิงพรรณพิมล
วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย ประธานพิธีเปิดโครงการ“วิตามินเสริมธาตุเหล็ก เด็กไทยอายุ 6 เดือน – 5 ปี
เขตสุขภาพที่ 6” และประชุมชี้แจงแนวทางบริหารจัดการงบบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
ปีงบประมาณ 2562 ณ ห้องประชุมแปซิฟิค เดอะไทด์ รีสอร์ท บางแสน จังหวัดชลบุรี
จากสถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย
ช่วง 3 ปีย้อนหลัง พบแนวโน้มสงสัยพัฒนาการล่าช้าเพิ่มขึ้น จากปี 2553 ร้อยละ 26.6
ปี 2557 ร้อยละ 27.2 และปี 2560 ร้อยละ 32.5 และได้สำรวจสถานการณ์ IQ นักเรียนระดับ ป.1 ทั่วประเทศ เฉลี่ย 98.32
นอกจากนี้ยังพบว่าภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อสมองและพัฒนาการเด็ก
ซึ่งจากการสำรวจสถานการณ์ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก เด็กอายุ 6 เดือน –
3 ปี ในเขตชนบท พบ ร้อยละ 41.7 เขตเมือง ร้อยละ 26 เด็กอายุ 6-12
เดือน ร้อยละ 14.6 – 26 และปี 2561 เขตสุขภาพที่ 6 พบ
เด็กอายุ 6 เดือน – 2 ปี มีภาวะโลหิตจางร้อยละ 34.32
เด็กอายุ 3-5 ปี ร้อย19.58 เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก ร้อยละ 22.5
กินเป็นประจำ ร้อยละ 17.2 ซึ่งเป็นสถานการณ์ภาวะโลหิตจางที่เป็นปัญหาสาธารณสุขไทยที่สำคัญและกระทบต่อประชาชนทุกกลุ่มวัยโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กปฐมวัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการ
การดำเนินงานจัดการปัญหาจะเห็นว่าองค์การอนามัยโลกได้ตั้งเกณฑ์การประเมินปัญหาจากความชุกของโลหิตจางในกลุ่มประชากรเพื่อแบ่งระดับในการจัดการปัญหา
และประเทศไทยได้กำหนดยุทธศาสตร์และมาตรการเชิงสาธารณสุข
ในการควบคุมและป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ไว้ 3 มาตรการหลัก
1)การเสริมยาธาตุเหล็กเชิงป้องกันในประชากร
2)เสริมธาตุเหล็กในผลิตภัณฑ์ที่ประชาชนนิยมรับประทาน
3)ส่งเสริมการบริโภคอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก
สำหรับเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนมีศักยภาพในการทำงานและการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ
และลดอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ
รวมทั้งป้องกันการเกิดทารกที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ทางกรมอนามัย
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 6 ระยอง และสำนักงานเขตสุขภาพที่ 6 เป็น 3
องค์กรหลักด้านสุขภาพ ที่เล็งเห็นประโยชน์และให้ความสำคัญ
ที่จะมุ่งเน้นส่งเสริมกลุ่มเด็กปฐมวัยปลอดจากภาวะโลหิตจางด้วยวิตามินเสริมธาตุเหล็กและมีพัฒนาการที่สมวัย
สื่อสารสร้าง ความเข้าใจ และขับเคลื่อนการดำเนินงานในการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง
สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นของขวัญที่มีค่าสำหรับเด็ก และครอบครัว
สร้างคุณค่าสนับสนุนให้ประชาชนได้รับความเท่าเทียม เสมอภาค เป็นธรรม
ลดความเหลื่อมล้ำ
แพทย์หญิงพรรณพิมล
วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า เขตสุขภาพที่ 6 ได้ทำการสื่อสารนโยบายสร้างความเข้าใจในการบริหารจัดการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่เป็นปัญหาพื้นที่ระดับเขต/จังหวัด
(P&P Area based) และพัฒนาระบบบริการที่ส่งผลให้ “เด็กสมองดี พัฒนาการเด่น ไม่ซีด ไม่จ่อย อร่อยวันอาทิตย์” จึงได้ดำเนินการ จัดโครงการ “วิตามินเสริมธาตุเหล็ก
เด็กไทยอายุ 6 เดือน – 5 ปี เขตสุขภาพที่ 6” และประชุมชี้แจงแนวทางบริหารจัดการงบบริการสร้างเสริม
สุขภาพและป้องกันโรคในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ปีงบประมาณ 2562 แก่ผู้รับผิดชอบงานในหน่วยบริการ เขตสุขภาพที่ 6
ซึ่งได้รับความร่วมมือ และการสนับสนุนจากภาคีเครือข่าย สำนักงานเขตสุขภาพที่ 6, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรีและสมุทรปราการ,
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 6 ระยอง, องค์การเภสัชกรรม, สำนักโภชนาการ กรมอนามัย, ศูนย์สื่อสารสาธารณะ กรมอนามัย และศูนย์อนามัยที่ 6 ชลบุรี